Banner

ไท ดำ หรือ ผู้ไทดำ เป็นกลุ่มไท ชน กลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตนเองว่า ไท หรือ ไตย (TAI ) โดยมีคนเรียกชื่อ ต่าง ๆ หลายชื่อ เช่น ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ลาวซงดำ ผู้ไทยดำ ผู้ไตซงดำ ไทยทรงดำ ไทยโซ่งดำ แต่คำว่า “ไทดำ” จะเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ถิ่นเดิมของ ชาวไทดำอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย

บริเวณ แม่น้ำดำ แม่น้ำแดง (น้ำแตหรือน้ำแท้หรือน้ำต๋าว) และบริเวณ แม่น้ำอู (แม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงที่หลวงพระบาง) ในแคว้นสิบสองจุไทยนี้ มีเมืองแถง (ปัจจุบันคือ เมืองเดียนเบียนฟู) เป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. 1463 พระเจ้าล้านเจื้อง เป็นผู้สร้าง เมืองแถงนี้ อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาวและอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศเวียดนาม ชาวไทดำมี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นอยู่เรียบง่าย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักความสงบ การดำรงชีวิตประจำวันยังคงผูกพันกับประเพณี พิธีกรรมและความ เชื่อดั้งเดิมอยู่ ลักษณะทางสังคมของไทดำยังคงรักษาขนบธรรมเนียมจารีต ประเพณี มีกษัตริย์ปกครองถึง 45 พระองค์ ปัจจุบันไทดำอาศัยอยู่ทั่วไป ตั้งแต่มณฑลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ของประเทศจีน มีมากในแคว้นสิบสองจุไทย โดยเฉพาะแถบเมืองแถงจะมีไทดำอยู่หนาแน่น ส่วน สปป.ลาวก็มีไทดำอยู่มากเช่นกัน

ไท ดำ อพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีอยู่หลายครั้งด้วยกัน ครั้งที่ 1 สมัยกรุงธนบุรี ปี พ.ศ. 2323 กองทัพ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ให้กองทัพเมืองหลวงพระบางยกทัพไปตีเอาเมือง ม่วย เมืองทันต์ ชาวเวียดนาม เรียกว่า เมืองซื้อหงี แล้วกวาดต้อนครอบครัวไทดำลงมาประเทศไทย โปรดเกล้าฯ ให้ ไทดำไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เพชรบุรี ส่วนลาวเวียงจันทน์ให้ตั้งบ้าน เรือนอยู่ที่สระบุรี ราชบุรี จันทบุรี และสืบเชื้อสายมาจนทุกวันนี้ ครั้งที่ 2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2335 มีการกวาดต้อนครอบครัวไทดำมาจากเมืองแถง เมืองพวน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้ไทดำ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพยกกองทัพไปปราบเมืองแถง และได้ครอบครัวไทดำมาไว้ที่ เพชรบุรีอีกครั้งหนึ่ง ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ 2381 เมืองหึม (ฮึม) เมืองคอย เมืองควร แข็งข้อต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ แต่งให้ท้าวพระยาคุมทัพไปปราบ เจ้าราชวงศ์ได้คุมไทดำมาไว้ที่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อเข้าโจมตีรุกรานแถบหัวเมือง คือ แคว้นพวน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ หลายครั้ง ทางไทยได้ส่งกองทัพไปปราบฮ่อ และได้มีการอพยพไทดำเข้ามาไว้ในประเทศ ไทย ปัจจุบันกลุ่มนี้ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2518 ประเทศลาวถูกพรรคคอมมิวนิสต์ยึดได้ ทำให้ชาวไทดำอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาใน ประเทศไทย ได้พักอยู่ค่ายอพยพจังหวัดหนองคายระยะหนึ่งแล้วเดินทางไปอยู่ ประเทศสหรัฐ อเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย

 

ไท ดำบ้านนาป่าหนาดอพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทยครั้งที่ 5 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาภูธราภัยหรือพระยาชมภู เป็นแม่ทัพคุมกองทัพไปปราบฮ่อ และได้อพยพชาวไทดำจากเมืองแถงและเมืองพวนใน แคว้นสิบสองจุไทย ซึ่งได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย มาถึงปากแม่น้ำลาย ทำแพล่องแม่น้ำน่านลงมาในปี พ.ศ. 2425 ได้หยุด พักที่เมืองอินทร์ เมืองพรหม ต่อมาจึงได้พากันล่องแพมาถึงกรุงเทพฯ พักอยู่ที่กรุงเทพฯ 3 วัน โดยมีตัวแทน 5 คน ตัวแทนไทดำได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอ พระราชทานอาหารและเครื่องนุ่งห่ม คือ 1. พ่อของนายหยอด สิงลอคำ (อ้ายเฒ่ามน ไพศูนย์) 2. พ่อของนายนาค สิงลอ (อ้ายเฒ่าแฝง ดีแอ) 3. พ่อของนายโหย สิงลอ (อ้ายเฒ่าโหย อ้อยนอ) 4. พ่อของนายต้น สิงวี (อ้ายเฒ่าหม่วน ทันหา) 5. พ่อของนายเนียว สิงวี (อ้ายเฒ่าคิม ซ้อนเปียยุง) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวอีก และอพยพกลับมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนาป่า หนาด เมื่อปี พ.ศ. 2460 จนถึงปัจจุบัน

 

ปัจจุบัน ชาวไทดำ ที่บ้านนาป่าหนาด เป็นเพียงหมู่บ้านเดียวในจังหวัดเลย ที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนถึง ปัจจุบัน มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นคือ ภาษาไทดำ และภาษาเลย มีตัวอักษรไทดำที่ยังอนุรักษ์ เก็บบันทึกเป็นหลักฐานไว้ นอกจากนี้ ชาวไทดำยังมีตระกูล เรียกว่า สิง เช่นเดียวกับ แซ่ ในภาษาจีน ที่บ้านนาป่าหนาด ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพ บุรุษแล้วก่อนที่ประเทศไทยจะมีนามสกุลมีประเพณีท้อง ถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกัน มายาวนาน ได้แก่ การละเล่นของชาวไทดำ (แซปาง) ที่ชาวบ้าน เล่นกันอยู่จนถึงปัจจุบัน มีบุญประจำปี คือบุญประทาย ข้าวเปลือก ที่ปฏิบัติกันทุกปีในเดือนสาม ประเพณีเลี้ยงบ้าน ปฏิบัติทุกปี ปีละ 2 ครั้งในเดือนหกและเดือนสิบเอ็ดหรือเดือนสิบสอง มีประเพณี โฮมไทดำ ซึ่งเป็นการรวมเครือญาติของชาวไทดำจากทุกจังหวัดทั่ว ประเทศ จัดสืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน รวม 8 ปี

ชาว ไทดำ ที่บ้านนาป่าหนาด มีความเป็นมาที่น่าสนใจ และน่าศึกษา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะรักสามัคคีกันมาก เหตุทะเลาะเบาะแว้งจะไม่ค่อย มี ถ้ามีก็จะให้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านไกล่เกลี่ยกันเอง เหมือนการปกครอง ตามจารีตประเพณี หมู่บ้านนี้จึงเป็นหมู่บ้านที่สงบสุข

 

นาย เพชรตระบอง ไพศูนย์ ผอ.ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ อ.เชียงคาน กล่าวว่า ผมเป็นลูกหลานสืบเชื้อสายไทดำมาแต่โบราณ ชุมชนที่นี่มีความ รู้สึกตลอดเวลาว่าเป็นคนไทยไม่มีความคิดจะแบ่งแยกเลย คิดอย่างเดียวว่าจะ ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินนี้อย่างไรที่ให้ที่อาศัยทำกินจน สามารถดำเนินชีวิตสืบเชื้อสายมาจนทุกวันนี้และปรารถนาที่จะทำความดีตลอดไป เพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตามความเชื่อเรื่องผีเรือนของชาวไทดำที่มีอยู่ ทุกหลังคาเรือน เหมือนกฎข้อบังคับไม่ให้ทำความชั่ว ถ้าทำความชั่วผีเรือน จะลงโทษจะไม่เจริญก้าวหน้า ขณะที่ ว่าที่ ร.ต.กลม บุญสูงเพชร นอภ.เมืองหนองคาย เปิดเผยว่าตนเป็นคนหนึ่งที่สืบเชื้อสายไทดำเหมือน กัน แต่เป็นไทดำที่อยู่ทางจ.เพชรบุรี และก็มีญาติ ทาง จ.สุพรรณบุรี และ จ.ราชบุรี ได้เดินทางมาร่วมงานเป็นประจำ รวมทั้งคนเชื้อสายไทดำทั่วประเทศเสมือนกับ การได้มาเยี่ยมญาติที่ห่างไกล พบปะแลกเปลี่ยนความคิด และจะยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเช่นนี้ตลอดไป.

 

เขียนและเรียบเรียง ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์